ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชียงใหม่ แคม-เทล : จำหน่าย/ซ่อม/ติดตั้ง กล้องวงจรปิด ระบบโทรศัพท์ ระบบกันขโมย เครื่องสแกนนิ้วมือ
ระบบไฟฟ้าในอาคาร ระบบเตือนอัคคีภัย ระบบเคเบิลทีวี จานดาวเทียม ปีก ทีวี
รับแก้ไขระบบ ตรวจสอบและให้คำปรึกษาฟรีก่อนซ่อม

สาระความรู้ : หน้า 1

    คำศัพท์เกี่ยวกับกล้องวงจรปิดที่ควรรู้

    Analog สัญญาณที่ระดับใด ๆ จะถูกแทนด้วยแรงดันไฟฟ้าเป็นสัดส่วนโดยตรงเป็นดิจิตอลไม่ได้
    Auto White Balance
    (AWB)
    คุณลักษณะที่เกี่ยวกับกล้องสีโดยกล้องจะตรวจสอบอย่างต่อเนื่องแสงและปรับสีตัวเองเพื่อรักษาพื้นที่สีขาว
    Automatic Iris Lens คือเลนส์ Iris แบบอัติโนมัติ เป็นเลนส์ที่มีระบบอิเล็คทรอนิกส์คอยควบคุมม่านรับแสง ช่วยให้เลนส์รักษาระดับแสงที่ผ่านเข้ามาได้ไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้ภาพที่ได้มีความคมชัดมากขึ้น
    Band Width ช่วงความถี่ของสัญญาณ ช่วงที่สัญญาณข้อมูลที่มีภาระตรงหรือต้องการหรือความแตกต่างระหว่างความถี่ต่ำสุดและสูงสุดของ band
    BNC เป็นหัวต่อของสายเคเบิ้ล ที่ใช้ในระบบกล้องวงจรปิด
    C Mount เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมสำหรับติดตั้งเลนส์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว 32เกลียวต่อนิ้ว ซึ่งจะมีความระยะห่างจากตัวรับภาพถึงท้ายเลนส์ 0.69 นิ้ว(17.5 mm.) เลนส์ที่มีข้อต่อแบบ C-mount สามารถใช้กับกล้องที่มีข้อต่อแบบ CS-mountได้ โดยต้องใช้แหวนตัวต่อ (Adapter ring มีขนาด 5 mm.) เพื่อช่วยในการติดตั้ง อย่างไรก็ตาม เลนส์แบบ CS-mount จะไม่สามารถใช้กับกล้องที่มีข้อต่อแบบ c-mount ได้
    CS Mount คือมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างใหม่ เป็นการติดตั้งเลนส์ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 นิ้ว 32เกลียวต่อนิ้ว จะคล้ายกันกับ C-Mount ความแตกต่างก็คือ CS-mount จะมีระยะห่างจากตัวรับภาพถึงท้ายเลนส์เพียง 0.492 นิ้ว หรือ 12.5 mm. (แต่ C-mount จะห่าง 0.69 นิ้วหรือ 17.5 mm.) เลนส์ที่มีข้อต่อแบบ CS-mount จะไม่สามารถใช้กับกล้องที่มีข้อต่อแบบ C-mount ได้
    CCD Sensor Sensor แบบ CCD มีลักษณะเป็นอุปกรณ์อนาล็อก ประกอบไปด้วยหลอดโฟโต้ไดโอดทำด้วยซิลิคอน เมื่อแสงตกกระทบตัวชิปแล้วจะถูกเก็บไว้เป็นประจุอิเล็กโทรนิกปริมาณน้อยๆ ในตัวเซนเซอร์ ซึ่งประจุเหล่านี้จะถูกแปลงไปเป็นแรงดันไฟฟ้าทีละหนึ่งพิกเซลขณะที่ถูกอ่านจากตัวชิป จากนั้นกระแสไฟในตัวกล้องจะแปลงแรงดันไฟฟ้านี้ไปเป็นข้อมูลดิจิตอลอีกทีหนึ่ง
    CCTV เป็นคำย่อของกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (Closed Circuit Television) หมายถึงระบบวิดีโอที่ถูกใช้เฉพาะในสภาพแวดล้อมแบบปิด (ใช้ในพื้นที่เฉพาะเจาะจงที่ต้องการตรวจสอบ) ซึ่งกล้องวงจรปิดจะถูกติดตั้งเพื่อใช้ในพื้นที่ที่ต้องมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษเพื่อรักษาความปลอดภัย
    CMOS Sensor แบบ CMOS มีลักษณะเป็นเซนเซอร์พิกเซลตอบสนอง ที่สร้างโดยกระบวนการประจุกึ่งตัวนำสำหรับ CMOS ซึ่งจะมีแผงวงจรเพิ่มขึ้นมาข้างเซนเซอร์ภาพเพื่อแปลงพลังงานแสงเป็นแรงดันไฟฟ้า จากนั้นแผงวงจรเสริมบนตัวชิปก็จะแปลงแรงดันไฟฟ้านั้นเป็นข้อมูลดิจิตอลได้ทันที
    Contrast ช่วงของค่าแสงและสีในภาพหรืออัตราส่วนระหว่างค่าสูงสุดและค่าความสว่างขั้นต่ำ
    Digital ระดับสัญญาณที่จะถูกแทนด้วยเลขฐานสองเหล่านี้จะถูกเก็บไว้ใน store
    Dynamic IP Address ที่อยู่ IP แบบไดนามิกที่มีชนิดของบัญชีผู้ใช้จาก ISP (Internet Service Provider) ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายของคุณจะถูกกำหนดที่อยู่ IP ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและไม่เคยยังคงเหมือนเดิม ยังเห็นอยู่ IP และ IP แบบคงที่
    Focal Length ระยะทาง (มิลลิเมตร) จากเลนส์ไปยังพื้นผิวของเซ็นเซอร์รับภาพที่สั้นกว่าระยะทางที่กว้างขึ้นดูนั้นอีกต่อไประยะทางที่แคบลง(ภาพ) มุมมอง
    I.R. (Infra Red) ช่วงความถี่ที่ต่ำกว่าแสงสีแดงที่มองเห็นได้ใช้สำหรับการเฝ้าระวังแอบแฝงหรือเป็นค่าที่ต่ำ wireless video link
    Lux Lux คือค่า ความสว่าง (illuminance หรือ illumination)ของแสง แสง คือการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่ รังสีอินฟราเรดถึงรังสีอัลตราไวโอเลตด้วย สมบัติพื้นฐานของแสง (และของการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าทุกช่วงคลื่น)
    Noise สัญญาณที่ไม่พึงประสงค์ (s) ที่ corrupts สัญญาณวิดีโอต้นฉบับและอาจจะลดคุณภาพของภาพ
    PAL
    (Phase Alternate Line. See CCIR)
    ระบบโทรทัศน์สีที่ใช้ใน UK
    Pan การเคลื่อนไหวด้านข้างของกล้อง (บนแกนนอน)
    Pixel Pixel มาจาคำว่า picture (ภาพ) กับคำว่า Element (พื้นฐาน) คือ หน่วยพื้นฐานซึ่งเล็กที่สุดของภาพดิจิตอล เทียบได้กับจุดสีของภาพ 1 จุด หลากหลายสี หลายๆจุดที่เรียงชิดติดกันถูกรวมกันทำให้เกิดเป็นภาพนั่นเอง
    Resolution Resolution คือ ความละเอียดในการแสดงผลของภาพ โดยจะกำหนดเป็น เมกะพิกเซล ยิ่งมีค่ามากก็จะยิ่งมีความละเอียดสูง โดยกำหนดจาก จำนวนเม็ดสี (Pixel) ต่อหนึ่งหน่วยความยาวของภาพ ตัวเช่น หากภาพนั้นมีค่า Resolution = 150 pixels/inches แสดงว่าในพื้นที่ 1 ตารางนิ้วของภาพนั้นประกอบไปด้วยเม็ดสีจำนวน 150 สี (Pixels) เป็นต้น
    Tilt การเคลื่อนไหวขึ้นและลงของกล้อง (การเคลื่อนไหวในแนวดิ่ง)
    Varifocal Lens เห็นเลนส์ซูม มักจะไม่ใช้ motorized (Manual)
    Video Motion Detection ระบบที่ใช้สัญญาณภาพที่ได้จากกล้องเพื่อตรวจสอบว่ามีการเคลื่อนไหวในภาพและการตั้งค่าการแจ้งเตือนใด ๆ
    Zoom ความสามารถในการเปลี่ยนแปลงขนาดของภาพให้ใหญ่ขึ้น (zoom in) หรือเล็กลง (zoom out)

    เอา v9.com ออกจากหน้าแรกของ browser

    พอดีวันนี้โดนของครับ เข้าใจว่ามันเกิดขึ้นหลังจากที่ติดตั้งโปรแกรม uTorrent แต่ไม่ยืนยันว่ามาจาก uTorrent หรือเปล่า หรือมันอาจจะมาของมันเองก็ไม่ทราบนะครับ อาการคือ google chrome ที่เปิดอยู่ มันปิดไปเองแล้วก็เปิดขึ้นมาทันที โดยมีเว็บไซต์ th.v9.com มาเป็นหน้าแรกให้กับเรา

    Fucked V9.com

     

    ก็เข้าใจอ่ะนะว่ามันมีอาจจะมีประโยชน์สำหรับใครที่ต้องการ เหมือนกับ shortcut ที่อยู่บนหน้าเดสท็อป แต่สำหรับบางคนแล้วมันเป็นความรำคาญ แถมยังไม่รู้ที่มาที่ไปของมัน มาได้ยังไง

    ที่แรกก็ไม่คิดว่าจะมีอะไร ก็แค่เข้าไปตั้งค่าใน Google Chrome  ให้ใช้หน้าแรกเป็น about:blank ตามปกติที่ผมใช้ ...แต่แล้วก็ได้รู้ว่ามันเฮี้ยนกว่าที่คิด

    โหลดบิทด้วย FreeNAS ตอนที่ 3 ได้โหลดซักที

    หลังจากที่ผ่านมา 2 ตอน จนถึงตอนนี้ NAS เราก็พร้อมใช้งานแล้วครับ ในตอนที่ 3 นี้จะมีส่วนสำคัญ 2 ข้อ คือ

    ข้อ 1 เปิดใช้งาน service bittorrent
    และข้อ 2 หลังจากเปิดแล้วก็ไปโหลดกันเล้ยยย!!

    โหลดบิทด้วย FreeNAS ตอนที่ 2 สิ่งที่ต้องทำสำหรับการโหลดบิท

    หลังจากตอนที่ 1 ซึ่งเป็นขั้นเตรียมการ ตั้งแต่ Hardware , Software , และการ Config ค่าเบื้องต้นจน NAS สามารถออกสู่โลกอินเตอร์เน็ตได้แล้ว มาถึงตอนที่ 2 ผมก็จะข้ามขั้นตอนในส่วนของ Disk Management ด้วยเหตุผลเดิมๆ ครับ ท่านสามารถหาอ่านได้ตามเว็บไซต์ทั่วๆ ไป ส่วนเรื่องของการใช้ FreeNAS โหลดบิทนั้น ผมได้ลอง search ดูแล้วมันไม่ค่อยมีให้อ่านครับ ฉนั้น เราจะคงคอนเซ็ปท์เดิมครับ คือทำเรื่องที่สำคัญต่อการโหลดบิท ส่วนเรื่อง Disk Management เอาไว้เป็นส่วนของ Episode 2 ก็แล้วกัน

    ตอนที่ 2 นี้ยังไม่ถึงขึ้นตอนของการโหลดนะครับ แต่มันจำเป็น ซึ่งมีอยู่ 2 หัวข้อที่ผมคิดว่าจำเป็นต้องทำ ดังต่อไปนี้

    ข้อ 1 การจัดพื้นที่ไว้เก็บไฟล์ที่โหลดมา
    ข้อ 2 การแชร์โฟลเดอร์ที่เราได้สร้างไว้ใน ข้อ 1 เพื่อเวลาที่เราโหลดอะไรๆ มาแล้ว เราก็จะสามารถเข้ามาเอาไฟล์เหล่านั้นได้

    โหลดบิทด้วย FreeNAS ตอนที่ 1 เตรียมพร้อมสำหรับการโหลดบิท

    เนื่องจากปลายปีที่แล้ว (2554) ผมได้พยายามหาระบบปฏิบัติการ (OS) ที่เหมาะสำหรับทำ File Server ใช้ในองค์กร ซึ่ง OS ตัวหนึ่งที่ได้ลองใช้ก็คือ FreeNAS ลองไปแบบมั่วๆ งูๆ ปลาๆ ด้วยเวลาที่ค่อนข้างจำกัด แต่ในครั้งนั้นก็ยังอุตส่าห์ได้ลองใช้ bittorrent client ที่มีมาให้ใน FreeNAS จำได้ว่าตอนนั้นไม่ได้เซ็ตค่าอะไรมากมายเลยมันก็ยังโหลดบิทได้

    แต่พอกลับมาทำอีกที โอ้วววว ทำไมโหลดบิทไม่ได้ซักที ล่อไปครึ่งวันกว่าจะได้ ลงโปรแกรมไปราวๆ 5 รอบ ต้องยอมรับว่าพลาดกับเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ฉนั้นก่อนที่จะลืมจนอาจจะทำให้พลาดอีก จึงเอามาทำเป็นบทความก่อน เผื่อจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆ ด้วย

    ทำความรู้จักกับปรากฎการณ์ ซัน เอาท์เทจ (Sun outage)

    ปรากฎการณ์ ซัน เอาท์เทจ (Sun outage) วันที่ 6 - 23 มีนาคม 55 เวลา 14.00-14.30 น.

    ซัน เอาท์เทจ (Sun outage) คืออะไร....??

    แก้ปัญหา Hotmail โหลดช้า

    ปัญหา hotmail โหลดหน้าเว็บช้าถึงช้ามากๆ หรือช้าจนเข้าไปเช็คเมล์ไม่ได้เลย อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน จะด้วยเหตุผลอะไรนั้นผมเองก็ไม่สามารถรู้ได้ เพราะปกติผมเองก็ไม่เคยประสบปัญหานี้ สามารถใช้งานได้อย่างราบรื่นมาโดยตลอด

    พอดีวันหนึ่งได้มีโอกาสได้ไปลองใช้อินเตอร์เน็ตที่อื่นแล้วก็เจอปัญหานี้เข้าจนได้

    เครื่องหมายตกใจสีเหลือง

    คาดว่าหลายท่านคงจะเคยเห็นเครื่องหมายตกใจสีเหลืองที่ปรากฎซ้อนอยู่บนไอคอน network บน taskbar (มุมขวาล่างของจอภาพ) ทุกครั้งที่พบเห็นเครื่องหมายนี้ บางคนไม่รู้ว่าเพราะอะไร แต่ที่รู้คือ เล่นเน็ตไม่ได้แน่นอน

    หลายท่านที่เคยใช้ Windows XP มาก่อน แล้วเปลี่ยนมาใช้ Windows Vista หรือ Windows 7 อาจจะสังเกตเห็นว่า ตอนที่ใช้ Windows XP อยู่จะไม่ค่อยเจอเครื่องหมายตกใจสีเหลืองแบบนี้ซักเท่าไหร่ แต่พอเปลี่ยนมาใช้ Windows ตัวใหม่ๆ ทำไมขี้ตกใจเหลือเกิน

    Windows 7 มันไม่ดีใช่ไหม...........????

    ขำๆ ...กูรู เป็นอย่างนี้นี่เอง

    หลายๆ คนคงจะเคยค้นข้อมูลจาก google แล้วก็มักจะเจอลิงค์ไปยัง guru.google.co.th หรือมีคำแนะนำว่า ถามกูรู หรือกูรูมีคำตอบ อะไรทำนองนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่ได้รับคำตอบที่พึงพอใจและมีความถูกต้องพอที่จะเรียกได้ว่ากูรูมาตอบ

    คำว่า กูรู เป็นคำทับศัพท์ หมายถึง ครู หรืออาจารย์ ในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธ โดยคำว่า กูรู นั้นมีที่มาจากปรัชญาความเชื่อของการเข้าถึงด้านศาสนา โดยคนที่เข้าถึงในหลักของศาสนา มักจะบอกว่า มีกูรู หรืออาจารย์เป็นผู้ชักนำไปสู่จุดนั้น ทั้งนี้ สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาฮินดู และซิกข์ คำว่ากูรูนี้ ยังคงความหมายของความศักดิ์สิทธิ์ด้วย..

    คำว่า กูรู นี้ยังมีการทับศัพท์ใช้ในภาษาอังกฤษอีกด้วย โดยสะกดว่า "guru" ซึ่งหากทับศัพท์มาใช้ในภาษาไทยก็จะต้องเขียน "คุรุ" ซึ่งมีความหมายว่าครู หรืออาจารย์เช่นกัน.. นอกจากนี้ ในภาษาสันสกฤต กูรู ยังใช้หมายถึง พฤหัสบดี ซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่ง ซึ่งตรงกับเทพเจ้าจูปิเตอร์ของชาวโรมันนั่นเอง (คัดลอกบางส่วนมาจาก dek-d.com)

    Facebook Chat ด้วย Pidgin

    ได้ข่าวว่าช่วงนี้ facebook กำลังปรับปรุงระบบการส่งข้อความและการแชท ซึ่งจะมีการสนทนาแบบกลุ่ม และ VDO Calling  วันนี้ก็เลยจะลองใช้ดู จึงได้เข้าไปที่  http://www.facebook.com/videocalling/  ปรากฏว่าไม่สำเร็จครับ เพราะไม่รู้จะ calling กับใคร  ฮา.... แต่ก็เหลือบไปเห็นหัวข้อ แชท จึงลองเข้าไปดู ก็พบกับสิ่งที่หามานาน ..นั่นก็คือ จะทำยังไงให้ใช้ facebook chat โดยที่ไม่ต้องเปิด facebook (สำหรับบนคอมพิวเตอร์) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ลองใช้ facebook discovery ก็พอใช้ได้ แต่ไม่โดนเท่าไหร่